วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น


ข้อแนะนำการดูแลและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ 



1. ไม่ควรตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ใกล้กับหน้าต่างที่มีแสงแดดและฝนสามารถเข้าถึงได้

2. ไม่ควรตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิร้อนจัด

3. ไม่ควรเปิดฝาเคสทิ้งไว้โดยไม่จำเป็น

4.ไม่ควรวางจอมอนิเตอร์ไว้ใกล้กับแหล่งที่มีสนามแม่เหล็ก หรือห้ามนำเอาแม่เหล็กมาไว้ใกล้ๆกับหน้าจอมอนิเตอร์

5. ไม่ควรใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ในขณะที่สภาพอากาศมีฝนตกฟ้าร้อง ถ้าจำเป็นต้องใช้ควรต่อไว้กับเครื่องสำรองไฟ (UPS)

6. ไม่ควรเปิดเครื่องทิ้งไว้เป็นเวลานานๆขณะที่เราไม่ได้ใช้งาน

7. ควรเปิดใช้โหมดประหยัดพลังงาน เพื่อกำหนดสถานะการใช้งานต่างๆเช่น กำหนดว่าถ้าไม่มีการตอบสนองใดๆกับคีย์บอร์ดหรือเมาส์เป็นระยะเวลาหนึ่ง ให้ปิดหน้าจอ หรือเข้าโหมด Standby เพื่อถนอมอายุการใช้งานของเครื่อง

8. ไม่ควรวางแก้วน้ำไว้ใกล้กับบริเวณที่เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งอยู่

9. ไม่ควรปิดเครื่องโดยกดที่ปุ่มเพาเวอร์ แต่ควรใช้คำสั่งปิด (Shutdown/Turn Off) ผ่านระบบ Windows แทน

10. ควรใช้อุปกรณ์ที่ช่วยในการสำรองกระแสไฟฟ้าและรักษาระดับของแรงดันไฟฟ้าให้คงที่ เช่น UPS เป็นต้น (ข้อนี้ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากๆ)

หลักการพิจารณาและการเลือกซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์
ตกลงกันก่อน สำหรับเนื้อหาตรงนี้ ผมเขียนขึ้นมาจากประสบการณ์ และความคิดเห็นส่วนตัวของผมเอง ซึ่งอาจจะไม่ใช่ สิ่งที่ถูกต้องเสมอไปก็ได้ ดังนั้น หากท่านใด ที่อ่านบทความตรงนี้ ขอให้พิจารณาด้วยตัวท่านเองอีกครั้งหนึ่ง ในส่วนของผม ก็เพียงแค่จะพยายามนำเสนอแนวทางและวิธีการเลือกซื้ออุปกรณ์ให้ท่านเท่านั้น ซึ่งในบางครั้ง ผมเองอาจจะไม่ทราบถึงปัญหาอื่น ๆ ที่มีกับอุปกรณ์เฉพาะยี่ห้อหรือเฉพาะรุ่นก็ได้ หากเป็นไปได้ควรที่จะสอบถามจากผู้อื่นประกอบด้วย
สิ่งแรก ที่ควรจะต้องคำนึงถึงมากที่สุดในการ Upgrade หรือการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่คือ ถามใจคุณก่อนว่าต้องการซื้อคอมพิวเตอร์มาเพื่อทำอะไร เหตุผลหลัก ๆ ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในสมัยนี้ผมขอแบ่งเป็นหัวข้อดังนี้
1. สำหรับใช้งานทั่ว ๆ ไปเช่น พิมพ์งานเอกสาร ต่าง ๆ หรือสำหรับเล่นอินเตอร์เน็ต
2. สำหรับการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ
3. สำหรับงานที่ต้องใช้ความเร็วของ CPU สูง เช่นการใช้ทำงานเกี่ยวกับ CAD หรือการ Encode ต่าง ๆ
4. สำหรับใช้เป็นเครื่อง Server
ดังนั้น คำถามแรกสำหรับคุณ คือต้องการที่จะ Upgrade หรือซื้อคอมพิวเตอร์ มาเพื่อใช้สำหรับทำอะไร แล้วก็เลือกอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับงานของคุณ (โดยที่อาจจะมีการเผื่อการ Upgrade ในอนาคตด้วย)
หลักการเลือกซื้อ CPU สำหรับคอมพิวเตอร์
การเลือก CPU สำหรับคอมพิวเตอร์ นี้ควรจะเป็นสิ่งแรก ที่ต้องนึกถึงก่อนอย่างอื่น ให้มองภาพให้ออกก่อนว่า CPU ที่มีใช้งานอยู่ในตลาดปัจจุบันนี้มีรุ่นไหน ความเร็วเท่าไรกันบ้าง อย่าลืมว่า ยิ่ง CPU ที่มีความเร็วสูง ๆ ราคาก็จะยิ่งแพงตามไปด้วย หากท่านเลือกซื้อ CPU ที่ราคาแพง ๆ เมื่อใช้งานไปได้สักระยะหนึ่ง CPU ที่คุณเคยภูมิใจนักหนา อาจจะมีราคาตกลงมา เหลือแค่หลักพันต้น ๆ ก็ได้ ดังนั้นควรเลือกซื้อ CPU ที่เหมาะกับการใช้งานของคุณเองดีกว่า หากต้องการใช้งาน คอมพิวเตอร์ แบบธรรมดา ใช้พิมพ์เอกสารต่าง ๆ เล่นอินเตอร์เน็ต ก็เลือก CPU ที่ราคาถูก ๆ ก็เพียงพอแล้ว แต่หากใครต้องการเน้นไปที่ การใช้งานแบบหนัก ๆ ก็คงจะต้องเลือก CPU ที่มีความเร็วและประสิทธิภาพสูงขึ้นไปอีกสักหน่อย อย่าลืมนะครับว่า ควรเลือกอุปกรณ์สำหรับเผื่อการ Upgrade ในอนาคตด้วย
การแบ่งชนิดของ CPU ขอแบ่งออกตามการออกแบบ และชนิดของเมนบอร์ดที่ใช้งานดังนี้
  • Intel Pentium 100-166 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 7 รุ่นแรก ๆ
  • Intel Pentium MMX 166-233 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 7 ที่ Support MMX
  • AMD K6-II 266-366 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 7 ทำงานที่ FSB 66 MHz
  • AMD K6-II 350-550 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Super Socket 7 ทำงานที่ FSB 100 MHz
  • AMD K6-III 400-450 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Super Socket 7 ทำงานที่ FSB 100 MHz
  • Intel Pentium II 233-333 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Slot 1 ทำงานที่ FSB 66 MHz
  • Intel Pentium II 350-450 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Slot 1 ทำงานที่ FSB 100 MHz
  • Intel Pentium III 450-600 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Slot 1 ทำงานที่ FSB 100 MHz
  • Intel Pentium III Coppermine 500 MHz ขึ้นไป ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 370 FC-PGA
  • Intel Celeron 266-533 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 370 ทำงานที่ FSB 66 MHz
  • Intel Celeron II 566 MHz ขึ้นไป ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 370 ทำงานที่ FSB 66 MHz
  • AMD Athlon 500 MHz ขึ้นไป ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Slot A ทำงานที่ FSB 200 MHz (DDR)
  • AMD Duron 600 MHz ขึ้นไป ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket A ทำงานที่ FSB 200 MHz (DDR)
  • AMD Thunderbird 750 MHz ขึ้นไป ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket A ทำงานที่ FSB 200/266 MHz (DDR)
อีกปัจจัยหนึ่งของการเลือก CPU คือขนาดของ Cache นะครับ โดยที่ Cache ส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็น แบบคือ L1 และ L2 Cache (หรือ Cache Level 1 กับ Level 2) จะอยู่ในแผ่นชิปเดียวกับ CPU ทำงานที่ความเร็วเท่ากับ CPU แบบ Full Speed หรือทำงานที่ความเร็วครึ่งหนึ่งของCPU หรือเรียกว่า Half Speed ดังนั้น ต้องหาข้อมูลของ CPU รุ่นต่าง ๆ กันก่อนนะครับ ว่ารุ่นไหนมี L1 และ L2 ขนาดเท่าไร ทำงานที่ความเร็วเท่าไร ยิ่งจำนวนของ Cache มีมากเท่าไร ก็จะได้ประสิทธิภาพของ CPU มากขึ้นนะครับ แถมท้ายเป็นความรู้นิดนึงนะครับ ว่าด้วยเหตุผลนี้เองที่ทำให้Intel ต้องออก CPU แบบ Celeron มาโดยลดขนาดของ Cache ลงเพื่อให้เป็น CPU ราคาถูกแข่งขันกับ AMD แต่การลดขนาดของ Cache ก็ทำให้ประสิทธิภาพลดลงไปด้วยนะ
หากจะแบ่ง CPU ตามราคาต่าง ๆ แล้ว ก็อาจจะสามารถแบ่งออกเป็น ระดับ
  • CPU สำหรับตลาดระดับล่าง จะเป็น CPU ที่มีราคาค่อนข้างถูก คือ AMD K6II, AMD K6III, AMD Duron และ Intel Celeron
  • CPU สำหรับตลาดระดับกลาง จะเป็น CPU ที่มีราคาสูงขึ้นมา แต่จะได้ประสิทธิภาพต่าง ๆ มากขึ้นเช่น Intel Pentium II, Intel Pentium III หรือ AMD Athlon/Thunderbird
  • CPU สำหรับตลาดระดับสูง สำหรับงานที่ใช้ความเร็วค่อนข้างมากเช่นการทำ Server ต่าง ๆ ซึ่งขอไม่พูดถึง
ในส่วนของ CPU ของค่าย Intel รุ่นใหม่ ๆ ที่เป็นแบบ Coppermine เช่น 500E, 550E, 533EB จะเห็นว่ามีรหัสต่อท้ายความเร็วด้วยนะครับ โดยที่ความหมายของรหัสต่าง ๆ คือ
  • หมายถึง CPU แบบ Coppermine ใช้เทคโนโลยี 0.18 ไมครอน ใช้ FSB 100 MHz
  • หมายถึง CPU ที่ทำงานโดยใช้ FSB เป็น 133 MHz
  • EB หมายถึง CPU แบบ Coppermine ใช้เทคโนโลยี 0.18 ไมครอน ใช้ FSB 133 MHz
  • ในส่วนของ CPU ที่ความเร็วสูงกว่า 667 MHz จะไม่มีรหัสต่อท้ายนะครับ เพราะว่าถ้าความเร็วสูงกว่านี้ก็คือจะเป็น EB ทั้งหมดซึ่งใช้ FSB เป็น 133MHz
สำหรับการเลือก CPU ที่เป็นแบบ FSB 133 MHz ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่จะทำให้ประสิทธิภาพ โดยรวมของระบบ ทำงานได้เร็วขึ้นกว่า CPU ที่ทำงานที่ FSB 100 MHz เพราะว่าการส่งถ่ายข้อมูลต่าง ๆ จะทำได้เร็วกว่า แต่ข้อเสียของ CPU แบบ FSB 133MHz คืออุปกรณ์ต่าง ๆ รอบข้างต้องมีคุณภาพค่อนข้างดีด้วย ไม่เช่นนั้นจะก่อให้เกิดปัญหาได้มาก และข้อเสียอีกอย่างหนึ่งก็คือ เพราะความเร็วบัสที่สูงถึง 133 MHz อยู่แล้วจึงทำให้การทำ Over Clock ทำได้ยากหรือทำไม่ได้เลย หากใครคิดจะซื้อมาลองทำ Over Clock ก้ให้เลือกแบบ FSB 100 MHz
หลักการเลือกซื้อ เมนบอร์ดสำหรับคอมพิวเตอร์
จากช้อมูลของ CPU ก็จะเห็นว่า เมนบอร์ด สามารถเบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ ๆ ได้คือ Socket 7 , Slot 1, Socket 370, Slot A และ Socket A นะครับ ก่อนอื่น หากท่านคิดจะเลือก CPU ตัวใหม่หรือจะทำการ Upgrade CPU ตัวเก่า ก็ลองมองดูก่อนนะครับว่า เมนบอร์ดอันเก่าของคุณนั้นเป็นแบบไหน จากนั้นก็หาข้อมูลว่าเมนบอร์ดนั้น ๆ สามารถรองรับ CPU ได้ความเร็วสูงสุดเท่าไร ลองพิจารณาดูข้อมูลของเมนบอร์ดแบบต่าง ๆ และความเร็วสูงสุดของ CPU ที่มีออกวางจำหน่ายด้วยนะครับ เพราะว่าบางครั้ง คุณอาจจะเพียงแค่เปลี่ยน CPU อย่างเดียวโดยยังใช้เมนบอร์ดเดิมก็ได้ ซึ่งจะเป็นการประหยัดเงินไปได้มากครับ หากเป็นการเลือกซื้อ เมนบอร์ด ใหม่เลย ผมขอยกตัวอย่างนะครับ เช่น เมนบอร์ดแบบ Socket 7 ในปัจจุบันนี้ ก็จะมี CPU ที่มีความเร็วสูงสุดเพียงแค่ K6II-550 MHz เท่านั้น ซึ่งหากคิดว่าจะไม่ทำการ Upgrade เครื่องคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเลือกตัวนี้ได้ (เพราะว่าราคาจะถูกกว่า) แต่สำหรับเมนบอร์ดแบบ Slot 1 หรือ Slot A ปัจจุบันนี้ ยังมี CPU รุ่นใหม่ ๆ ออกมาอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งความเร็วสูงสุดอาจจะขึ้นไปถึง 1GHz ก็ได้ คงต้องรอดูกันต่อไป
ในส่วนของเมนบอร์ด ก็จะมีอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมใช้กันมากคือ Slotket โดยหน้าที่หลักคือเป็นตัว Adapter หรือตัวแปลงให้สามารถนำเอา CPU แบบ Socket 370 (เช่น Celeron หรือ Pentium Coppermine) มาใช้งานบนเมนบอร์ดแบบ Slot 1 ได้ ส่วนใหญ่แล้ว มักจะนิยมซื้อเมนบอร์ดแบบ Slot 1 มาใช้กันมากกว่า เพราะว่าสามารถใช้งานกับ CPU Celeron ซึ่งมีราคาถูกได้ เมื่อต้องการจะ Upgrade เครื่องก็เพียงแค่เปลี่ยน CPU ไปเป็น Pentium III หรือ Coppermine ได้โดยไม่ยากนัก
ปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับการเลือก เมนบอร์ด คือข้อมูลรายละเอียด Specification ต่าง ๆ ขอสรุปแนวทางการเลือกคร่าว ๆ ดังนี้
  • ชนิดและความเร็วของ CPU ที่ใช้งาน เช่นแบบ Socket 7, Slot 1 หรือแบบอื่น ๆ สามารถรองรับ CPU ความเร็ว ต่ำสุด-สูงสุด ได้เท่าไร
  • ชนิดของ Power Supply ว่าสามารถใช้กับ Power Supply แบบ AT หรือ ATX หรือใช้ได้ทั้งคู่
  • จำนวนของ ISA, PCI และ AGP Slot สำหรับเสียบการ์ดอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ISA จะเป็นอุปกรณ์แบบเก่า ๆ หากท่านยังใช้งานอุปกรณ์แบบ ISA อยู่ก็ต้องมองหาเมนบอร์ดที่มี ISA Slot ไว้ด้วย ส่วน PCI Slot จะเป็นการ์ดทั่ว ๆ ไปที่ใช้งานอยู่ และ AGP Slot ซึ่งใช้สำหรับการ์ดจอโดยเฉพาะ (AGP Slot จะมีเฉพาะในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ และมีเพียงแค่อันเดียว) ก็ดูที่ความเร็วว่าเป็น AGP แบบ 1X, 2X หรือ 4X
  • ชนิดและจำนวนของช่องเสียบ RAM และขนาดของ RAM สูงสุดที่สามารถขยายได้ในอนาคต
  • การปรับแต่งค่าต่าง ๆ เป็นแบบ Jumper หรือแบบใช้ Software ปรับใน BIOS หากเป็นการปรับแต่งค่าต่าง ๆ ได้ใน BIOS ก็จะทำให้เราสามารถปรับเปลี่ยนค่าต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องเปิดฝาเคสชองเครื่องครับ
  • ความเร็วของ FSB และตัวคูณ ที่สามารถปรับแต่งได้ อันนี้สำหรับผู้ที่ต้องการทำ Over Clock นะครับเพราะเมนบอร์ดบางรุ่นจะสามารถปรับความเร็วของ CPU ได้อย่างละเอียด บางรุ่นจะปรับได้แค่ค่าที่ใช้งานทั่ว ๆ ไป ซึ่งก็ต้องดูจุดประสงค์สำหรับการใช้งานด้วย หากไม่ได้คิดจะทำ Over Clock ก็คงจะไม่จำเป็นนัก
  • การต่อใช้งาน HDD ถ้ารองรับ Interface ของ HDD แบบ UDMA-66 ก็จะช่วยให้การทำงานต่าง ๆ เร็วขึ้น
  • อุปกรณ์ Port ต่าง ๆ ที่มีแถมมาให้ด้วยเช่น USB Port หรือ Infrared Port
  • สำหรับการเลือกซื้อเมนบอร์ดเพื่อทำ Over Clock ก็ต้องเลือก เมนบอร์ด รุ่นที่มีความสามารถปรับอัตราส่วนความเร็วของแรม และความเร็วของระบบบัสต่าง ๆ ของ PCI หรือ AGP ที่ละเอียดขึ้นด้วยนะครับเช่นการใช้งานที่ FSB 133 MHz โดยที่ PCI และ AGP ยังทำงานในความเร็วมาตราฐานได้ด้วย
  • Chip Set ที่ใช้งานกับเมนบอร์ดนั้น ๆ ก็ลองมองดูสักหน่อยครับ ว่าเป็นของอะไร และจะมีปัญหากับอุปกรณ์อื่น ๆ หรือไม่ เช่นที่เคยทราบมาว่า Chip Set ของ ALI จะมีปัญหากับการ์ดจอของ TNT เป็นต้น อันนี้ต้องศึกษาข้อมูลเรื่องการไม่เข้ากันของอุปกรณ์บางอย่างให้ดีด้วยครับ รายละเอียดต่าง ๆ ผมขอแนะนำให้ลองหาข้อมูลตามเวปบอร์ดต่าง ๆ ที่มีคุยกันเรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นะครับ เช่นที่ http://www.pantip.com เป็นต้น
  • เลือกยี่ห้อของเมนบอร์ดที่มีการ Support หรือการ Update Driver ใหม่ ๆ ได้ง่ายจากอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้เราสามารถรับรู้ข่าวและการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นรวมถึงการเปลี่ยนให้เมนบอร์ดสามารถใช้งานกับ CPU รุ่นใหม่ ๆ ที่อาจจะมีออกมาในอนาคตได้ด้วย
นอกจากนี้ สำหรับท่านที่มีงบน้อย ๆ เมนบอร์ดแบบ All in One เป็นเมนบอร์ดอีกแบบหนึ่ง ที่เรียกได้ว่ามีราคาประหยัดมากเลย ลักษณะของเมนบอร์ดชนิดนี้คือจะมีการนำเอา VGA Card, Sound Card, Modem, LAN Card หรืออุปกรณ์อื่น ๆ มารวมไว้บนเมนบอร์ดของคุณ ข้อดีของเมนบอร์ดขนิดนี้คือ ราคาถูก ได้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นครบ โดยไม่ต้องไปหาซื้อเพิ่มเติม แต่ข้อเสียของเมนบอร์ดแบบนี้คือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มารวมกันอยู่บนเมนบอร์ดนี้ จะทำให้ CPU ต้องแบ่งการทำงาน มาให้กับอุปกรณ์เหล่านี้ด้วย ซึ่งอาจจะทำให้เครื่องโดยรวมช้ากว่าการใช้เมนบอร์ดแบบแยกส่วนมาก นอกจากนี้ เมนบอร์ดแบบนี้จะไม่ค่อยมี Slot ของการ์ดต่าง ๆ มาให้ขยายเพิ่มเติมมากนัก ส่วนใหญ่จะมีแค่เพียง Slot เดียว ซึ่งทำให้ยากต่อการขยับขยายในอนาคต หรือถ้าหากอุปกรณ์บางอย่างเกิดเสียขึ้นมา ก็อาจจจะไม่สามารถเปลี่ยนเฉพาะอุปกรณ์นั้น ๆ ได้ (ในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ อาจจะเปลี่ยนได้โดยการDisable อุปกรณ์ที่มีอยู่บนเมนบอร์ดนั้น แล้วซื้อการ์ดใหม่มาเสียบแทน แต่ส่วนใหญ่ก็จะมีปัญหาตามมาครับ เช่นถ้ายกเลิก Sound Card ก็จะต้อง Disable Modem ที่อยู่บนเมนบอร์ดด้วย ต้องดูข้อมูลให้ดีนะครับ) สรุปว่า เมนบอร์ดแบบนี้เหมาะกับการใช้งานแบบธรรมดา พิมพ์เอกสาร เล่นอินเตอร์เน็ต ที่ไม่หนักมากนัก และไม่เน้นการเล่นเกมส์หรือการเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์บ่อย ๆ นัก เพราะว่าข้อดีของเมนบอร์ดแบบนี้คือ ราคาที่ถูกแสนถูก
การเลือกซื้อ Case สำหรับคอมพิวเตอร์
Power Supply และ Case สำหรับเมนบอร์ดก็เป็นอีกข้อหนึ่งครับที่ไม่ควรมองข้าง โดยทั่วไปแล้วคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ๆ จะใช้ Case แบบ AT แต่ถ้าหากเป็นรุ่นใหม่ ๆ แล้วจะเป็นแบบ ATX นะครับ ข้อดีของ Case และ Power Supply แบบ ATX คือ การออกแบบให้มีการระบายความร้อนได้ดีกว่า และการใช้ Power Supply แบบใหม่ซึ่งจะทำให้สามารถใช้งานระบบ Power Management ต่าง ๆ ได้เช่นการตั้งเวลา เปิด-ปิด เครื่อง เป็นต้น และนอกจากนี้อย่าลืมว่า เมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ เดี๋ยวนี้ก็จะใช้กับ Case และ Power Supply แบบ ATX เป็นส่วนใหญ่หมดแล้วนะครับ สำหรับท่านที่คิดจะทำการ Upgrade เครื่องเดิมที่เป็น Case แบบ ATแต่หาเมนบอร์ดได้ยาก ก็ลองมองดูส่วนของ Case นี้ด้วยนะครับหากเป็นไปได้ก็อาจจะลงทุนซื้อ Case พร้อม Power Supply แบบ ATX ใหม่ไปเลย ราคาก็คงอยู่หลักพันต้น ๆ เท่านั้น
ขนาดของ Power Supply รุ่นเก่า ๆ จะเป็น 200 วัตต์ หากเป็น Power Supply รุ่นใหม่ ๆ หน่อยก็จะเป็น 230-300 วัตต์ หรือสูงกว่านี้แล้ว ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกขนาดของ Power Supply ขนาดวัตต์สูง ๆ ไว้ก็ดี
การเลือกซื้อ ฮาร์ดดิสก์ สำหรับคอมพิวเตอร์
ในส่วนของ ฮาร์ดดิสก์ ก็คงจะไม่มีอะไรให้เลือกมากนัก หากเป็นการ Upgrade เครื่องเก่า ก็ลองมองดูว่า ฮาร์ดดิสก์ ตัวเดิมของคุณยังมีขนาดเพียงพอสำหรับการใช้งานหรือไม่ สิ่งแรกที่ผมมองว่าควรจะพิจารณา คือขนาดความจุ หากเป็นการซื้อฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่ เลือกขนาดที่ใหญ่ ๆ ไว้ก่อนก็ดี (ถ้าคุณมีเงินมากพอ) เพราะว่าในอนาคต ความต้องการใช้งานฮาร์ดดิสก์จะต้องการขนาดความจะที่ใหญ่ขึ้นไปเรื่อย ๆ ผมขอสรุปปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามในการเลือก ฮาร์ดดิสก์ ดังนี้
  • ขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ พิจารณาและคำนวณราคาต่อหน่วยความจำให้ดี
  • ความเร็วการส่งถ่ายข้อมูล จะมีแบบ UDMA-33 และ UDMA-66/100 ก็เลือกแบบ UDMA-66/100 เพราะการส่งถ่ายข้อมูลจะทำได้เร็วกว่า (โดยที่หลาย ๆ ท่านบอกว่า ไม่มากนัก) และหากใครคิดจะใช้ความสามารถแบบ UDMA-66/100 ให้เต็มที่ก็ต้องเลือก เมนบอร์ด ที่สามารถใช้งานฮาร์ดดิสก์แบบ UDMA-66/100 ด้วย
  • ขนาดของ Buffer ที่เห็นมีอยู่ในปัจจุบันก็จะเป็น 512K, 1M และ 2M ยิ่งขนาดมากก็ยิ่งดี (แต่จะแพงขึ้น)
  • ความเร็วรอบ จะเห็นมีอยู่ แบบคือ 5,400 และ 7,200 รอบต่อนาที ถ้าความเร็วรอบสูง การเข้าถึงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ก็จะเร็วกว่า แน่นอนราคาก็ย่อมแพงกว่าด้วย
  • ความทนทานและการรับประกัน อันนี้สำคัญมาก ขอแนะนำให้สอบถามจากผู้ที่เคยใช้งานมานาน ๆ ครับ ฮาร์ดดิสก์บางยี่ห้อจะค่อนข้างบอบบางมาก ใช้งานได้ไม่นานก็เริ่มออกอาการไม่ดีแล้ว โดยส่วนใหญ่จะเป็นฮาร์ดดิสก์ที่ราคาถูก ๆ ผมไม่ขอแนะนำให้ใช้นะครับถึงแม้ว่าจะมีการรับประกันที่นานกว่าก็ตาม เพราะว่าข้อมูลต่าง ๆ ในฮาร์ดดิสก์มีค่ามากกว่าการเสียเวลานำฮาร์ดดิสก์ไปเปลี่ยนหรือซ่อม
  • เสียง ก็เป็นส่วนประกอบอีกอย่างหนึ่ง แต่คงจะไม่สำคัญมากนัก ฮาร์ดดิสก์บางรุ่นเสียงจะค่อนข้างดังมาก ก็ต้องเลือกให้ดี
การเลือกซื้อ RAM สำหรับคอมพิวเตอร์
สำหรับ RAM ก็คงจะไม่มีอะไรมาก ควรเลือกซื้อยี่ห้อที่น่าเชื่อถือหน่อยก็ดี ขนาดของ RAM ที่จะใช้ขอแนะนำว่า การใช้งานคอมพิวเตอร์แบบทั่ว ๆ ไปกับ Windows 98 ควรที่จะมี RAM ประมาณ 64M. ไม่ขอแนะนำให้ใช้ RAM น้อยกว่านี้ ถึงแม้ว่าจะสามารถใช้งานได้ก็ตาม เพราะว่าการที่ใช้ RAMน้อย ๆ จะทำให้ ฮาร์ดดิสก์ ต้องทำงานหนักขึ้นอีกมาก ๆ ครับซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ ฮาร์ดดิสก์เสียได้เร็วกว่าที่ควรครับ หากท่านที่ต้องการเน้นการเล่นเกมส์ หรือการใช้งานหนัก ๆ ก็ควรจะมี RAM ไม่น้อยกว่า 128M. ครับ สำหรับการ Upgrade เครื่อง การเพิ่ม RAM จะเป็นทางเลือกที่ประหยัดที่สุด แต่คุณต้องดูด้วยครับว่า RAM ที่คุณมีอยู่เดิมนั้นเป็นแบบไหน EDO-RAM 72 pin หรือ SD-RAM 168 pin รวมทั้งเมนบอร์ดเดิมของคุณนั้น สามารถใส่ RAM แบบไหนได้บ้าง หลักการเพิ่มและเลือกซื้อ RAM ขอแนะนำข้อที่ควรดูเมื่อเลือกซื้อ RAM ดังนี้
  • ขนาดของ RAM ต่อ ชิ้น อย่าลืมนะครับว่าบนเมนบอร์ดคุณ จะมีข้อจำกัดของช่องใส่ RAM เช่นใส่ได้ หรือ ช่อง หากเลือก RAM ที่มีขนาดน้อย ๆ ต่อชิ้น เช่นเลือก RAM แถวละ 32M. คุณก็ต้องซื้อ แถวเพื่อให้ได้ 64M. ในอนาคตอยากจะเพิ่มอีก ก็จะเริ่มเป็นปัญหาว่าไม่มีช่องใส่ RAMพอได้
  • การใช้ RAM ที่มีขนาด และความเร็วที่ไม่เท่ากัน ก็อาจจะเป็นปัญหาให้กับระบบคอมพิวเตอร์ ของคุณได้เช่นการไม่เสถียร หรือแฮงค์บ่อย ๆ ได้ ดังนั้น ถ้าเป็นการซื้อ RAM ใหม่ให้เลือกขนาดที่ใหญ่ที่สุดที่คุณต้องการเลย เช่น 64M. หรือ 128M. ต่อ แถวและใส่ให้น้อยแถวที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • ความเร็วของบัสแรม ก็ต้องเลือกให้เข้ากับ CPU และ เมนบอร์ดด้วย (ความเร็วส่วนใหญ่จะเป็น 66, 100 และ 133 MHz) เช่น Celeron ใช้ความถี่ FSB 66 MHz อาจจะใช้งานกับ RAM แบบ PC-66 ก็ได้ แต่หากคุณใช้ CPU Pentium II หรือ Pentium III ซึ่งใช้ความเร็ว FSB 100MHz ก็ต้องใช้ RAM แบบ PC-100 ด้วยหรือ CPU รุ่นใหม่ ๆ ที่ใช้ความเร็วบัส FSB 133 MHz ก็ต้องใช้แรมแบบ PC-133
  • ความเร็วของการส่งถ่ายข้อมูลของ RAM อันนี้คงจะดูกันยากหน่อย แต่โดยทั่วไปก็จะมีตัวเลขที่บอกความเร็วของการเข้าถึงข้อมูล เช่น 10 nsec, 8nsec หรือ 6 nsec เป็นต้น ตัวเลขยิ่งน้อย ก็ทำให้การเข้าถึงข้อมูลทำได้เร็วกว่า
  • สำหรับผู้ที่ต้องการ Over Clock ก็คงต้องเลือกยี่ห้อของ RAM กันหน่อย เคยได้ยินมาว่า RAM แบบ PC-133 บางยี่ห้อสามารถทำงานที่ความเร็วสูงถึง 180 MHz ได้ด้วย แต่ราคาก็แพงตามไปด้วย)
การเลือกซื้อ VGA Card สำหรับคอมพิวเตอร์
สำหรับ VGA Card ปัจจุบันนี้ ก็จะแบ่งออกเป็น แบบใหญ่ ๆ คือการ์ดแสดงผลแบบ 2D และแบบ 3D ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ถ้าเป็นการ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ ๆ ก็จะเป็นแบบ 3D กันหมดแล้วครับ เพียงแต่อาจจะแตกต่างกันทางด้านความเร็ว จำนวนของ RAM บนการ์ดและคุณภาพ ตามราคาเท่านั้น ในที่นี้ขอแบ่งวิธีการเลือกการ์ดแสดงผล ดังนี้
  • ชนิดของ Interface การ์ดจอ คือเป็นแบบ PCI หรือเป็นแบบ AGP ต้องเลือกให้ตรงกับเมนบอร์ดด้วยนะครับ (สำหรับเมนบอร์ดรุ่นเก่า ๆ จะมีแค่เพียงสล็อตแบบ PCI เท่านั้น หากเป็นเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ ก็จะมีสล็อต AGP มาให้ด้วย)
  • การใช้งานคอมพิวเตอร์แบบธรรมดา เช่นการพิมพ์เอกสาร ดูหนัง ฟังเพลง เล่นอินเตอร์เน็ต ก็เลือกการ์ดแสดงผลที่มี RAM ประมาณซัก 8M. ก็เพียงพอแล้วครับ เพราะราคาจะค่อนข้างถูกกว่ามาก
  • หากเน้นที่การเล่นเกมส์ ก็ต้องเลือกการ์ดแสดงผลแบบที่เป็น 3D โดยเฉพาะ และควรจะมีจำนวนของ RAM บนการ์ดค่อนข้างมากหน่อย เช่น 16M. หรือ 32M. หากเลือกการ์ดที่มี RAM มาก ๆ จะทำให้เล่นเกมส์ต่าง ๆ ได้ดีขึ้นครับโดยที่ราคาก็จะแพงมากขึ้นตามไปด้วย
  • เลือกชนิดของ Chip Set ของการ์ดจอด้วย เนื่องจากการ์ดจอแต่ละแบบ จะมีจุดเด่นและจุดด้อยแตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปแล้ว ที่นิยมเลือกใช้งานกันก็จะมี Voodoo, TNT, Savage, SiS และอื่น ๆ ซึ่งอาจจะต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องนี้จาก เวปบอร์ดต่าง ๆ ประกอบด้วย
  • ความเร็วของการส่งถ่ายข้อมูล เช่นเป็น AGP 1X, 2X หรือ 4X
  • ความสามารถในการ Over Clock ซึ่งรวมทั้งการ Over Clock CPU และการ Over Clock การ์ดจอด้วย สำหรับผู้ที่คิดจะทำ Over Clock โดยเฉพาะ
  • Option Video in, Video Out ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งถ้าหากมี Option พวกนี้มาด้วย ราคาก็จะสูงขึ้นอีกนิด
สรุปในส่วนของการเลือกซื้อการ์ดแสดงผลนะ ว่าซื้อตามจุดประสงค์ที่ต้องการใช้งาน และตามงบประมาณที่มีอยู่ แถมท้ายให้อีกนิดนึงนะ หากใครคิดจะเล่นเกมส์แต่งบน้อย เลือก CPU ที่ราคาถูก ๆ หน่อยเช่น Celeron แต่ไปเพิ่มงบให้กับการ์ดจอมากขึ้น ก็อาจจะได้คุณภาพโดยรวมดีกว่าการเลือก CPUราคาแพงแต่ใช้การ์ดจอราคาถูก
การเลือกซื้อ Sound Card สำหรับคอมพิวเตอร์
สำหรับการเลือกซื้อ Sound Card หรือการ์ดเสียง อันนี้ผมคงจะไม่มีข้อเสนอให้มากนักนะ สรุปง่าย ๆ คือเลือกกันตามราคาไปเลย จะมีตั้งแต่แบบถูก ๆ ราคาไม่กี่ร้อยไปจนถึงราคาเป็นหลักพัน คุณภาพของเสียงที่ได้ก็จะเป็นตามราคาด้วยเช่นกัน โดยส่วนตัวของผมที่ใช้งานคอมพิวเตอร์แบบธรรมดานะครับ ผมใช้การ์ดเสียงรุ่นเก่า ๆ ก็พอใช้งานฟังเพลงได้ (บังเอิญผมไม่ใช่พวกหูทองซะด้วย เลยไม่ค่อยรู้สึกความแตกต่างมากนัก) ในส่วนนี้ขอแนะนำให้ เอางบประมาณที่ตั้งไว้ เผื่อไปที่ตัวลำโพงดีกว่า เลือกลำโพงแบบที่มี ซับวูฟเฟอร์ ด้วยจะช่วยเพิ่มคุณภาพเสียงได้มากทีเดียวครับ ตัดใจโยนเจ้าลำโพงตัวเก่า ที่ร้านมักจะแถมมาให้ทิ้งไปเถอะ
อ้อ เกือบลืมไปอีกนิดนึง ในส่วนของการเลือก Sound Card ลองพิจารณาดูเรื่องของการเพิ่มเติมหน่วยความจำในอนาคต หรือการใส่ wave table ได้ด้วยซึ่งหากเป็นรุ่นใหม่ ๆ หน่อยก็จะสามารถทำได้อยู่แล้ว สรุปว่า ผมเองยังไม่ค่อยมีประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้งาน Sound Card มากนัก หากท่านใดมีข้อแนะนำเพิ่มเติมเรื่องนี้ เมล์มาคุยกัน หรือแนะนำเคล็ดการเลือกซื้อด้วยก็จะขอบคุณมากครับ
การเลือกซื้อ Modem สำหรับคอมพิวเตอร์
ในส่วนของ Modem ที่เห็นรูปร่างจากภายนอก สามารถแบ่งออกเป็น แบบใหญ่ ๆ คือแบบ Internal Modem และ External Modem ซึ่งขอแยกข้อดีและข้อเสียของ Modem ชนิดต่าง ๆ ดังนี้
  • Internal Modem จะมีข้อดีคือ ราคาถูกกว่า ไม่เกะกะสายตา เพราะจะเป็นการ์ดเสียบติดไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ไปเลย ไม่ต้องต่อสายหรือต่อ Power Supply ให้ยุ่งยาก และไม่เปลือง COM Port ที่มีอยู่จำกัด แต่ข้อเสียของ Internal Modem คือ การเคลื่อนย้าย หรือถอดออกไปใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ จะทำได้ค่อนข้างยาก และมักจะมัปัญหาหลาย ๆ อย่างตามมาด้วยเช่น สายอาจจะมีโอกาสหลุดได้บ่อย (ปัญหาหลักที่พบกันมาก) ต้องการ CPU ที่มีความเร็วค่อนข้างสูง จึงจะใช้งานได้แบบไม่มีปัญหา
  • External Modem จะมีราคาแพงกว่าแบบ Internal Modem และจะต้องมีสายต่อต่าง ๆ อยู่ภายนอกเครื่องให้เกะกะสายตาดี แต่ก็จะมีข้อดีคือ พบปัญหาของสายหลุดได้น้อยมาก และสามารถใช้งานกับ CPU ที่มีความเร็วไม่สูงมากนักได้สบาย ๆ การเคลื่อนย้ายก็ทำได้ง่าย
นอกจากนี้ การพิจารณาเลือกซื้อ Modem ก็ยังมีสิ่งที่อาจจะต้องพิจารณาไว้ (อาจจะไม่สำคัญมากนักแต่รู้ไว้ก็ดีครับ) ดังนี้
  • ความเร็วสูงสุดของ Modem ส่วนใหญ่แล้วก็จะเป็น 56K. กันหมดแล้ว แต่ต้องดูว่ารองรับมาตราฐานอะไรได้บ้าง เช่น X2 หรือ V.90
  • เป็น Hardware Modem หรือ Software Modem เพราะหากเป็นแบบ Software Modem จะต้องมีการใช้งาน CPU ส่วนหนึ่งด้วยซึ่งอาจจะใช้งานได้ดีเฉพาะเครื่องที่มี CPU ความเร็วสูง ๆ เท่านั้นครับ ส่วนใหญ่แล้ว Internal Modem จะเป็นแบบ Software จึงไม่เหมาะกับเครื่องรุ่นเก่า ๆ เพราะเป็นต้นเหตุของปัญหาสายหลุดได้ง่ายด้วย
  • สามารถรองรับระบบ Voice ได้หรือไม่ ซึ่งจะทำให้สามารถใช้งาน Modem ในรูปแบบอื่น ๆ ได้ด้วยเช่นการรับฝากข้อความต่าง ๆ ระบบ Audio Text เป็นต้น โดยขึ้นอยู่กับ Software ต่าง ๆ ด้วย
  • เป็นแบบ Half Duplex หรือ Full Duplex ข้อนี้เท่าที่เคยได้ยินมา จะเกี่ยวข้องกันการใช้งานประเภท การโทรทางไกลต่างประเทศ ผ่านอินเตอร์เน็ต ต่าง ๆ นะครับว่าจะต้องเป็น Modem แบบ Full Duplex ด้วยจึงจะใช้งานได้
การเลือกซื้อ CD-ROM Drive สำหรับคอมพิวเตอร์
ในส่วนของ CD ROM Drive ก็คงจะไม่มีอะไรให้เลือกมากนักครับ เลือกยี่ห้อที่ทน ๆ หน่อยหรืออาจจะเลือกซื้อจากร้าน ที่มีการรับประกันดี ๆ ครับ ความเร็วก็ประมาณซัก 40X ขึ้นไปก็ใช้ได้แล้ว สิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างหนึ่งก็คือ ยิ่งเป็น CD ROM Drive ที่มีความเร็วสูงมากเท่าไร เสียงก็จะยิ่งดังมากขึ้นครับ ยกเว้น CD ROM Drive บางยี่ห้อหรือบางรุ่น จะสามารถปรับความเร็วให้ลดลงมาได้ด้วย (อาจจะโดยใช้ Software หรือการกดปุ่ม Control บนหน้าปัดก็ได้) รวมทั้งหากคุณใช้งานแผ่น CD-RW ก็คงต้องเลือกรุ่นที่สามารถอ่านแผ่น CD-RW ได้ด้วยนะครับ (เคยได้ยินมาว่า ประมาณ 24Xขึ้นไปจะสามารถอ่านแผ่น CD-RW ได้แล้ว แต่หลายท่านก็บอกมาว่า บางยี่ห้อ ไม่สามารถอ่านได้ครับ) ก่อนซื้อก็ถามคนขายดูให้แน่ใจด้วย
การเลือกซื้อ จอภาพ สำหรับคอมพิวเตอร์
สำหรับ จอภาพ ของคอมพิวเตอร์ ก็คงเป็นอุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่งครับที่ไม่มีให้เลือกมากนัก ส่วนใหญ่ก็จะเลือกกันที่ขนาดของจอ เช่น 14, 15 หรือ 17 นิ้ว เป็นจอแบบธรรมดา หรือ Flat Screen ราคาก็จะถูกแพง ขึ้นอยู่กับคุณภาพของจอนั้น ๆ ครับ สิ่งที่ผมขอแนะนำให้พิจารณาดูด้วยก็คือ การตั้งค่าความละเอียดของการแสดงผลสูงสุดได้เท่าไร และการตั้งค่า Refresh Rate ตั้งได้สูงสุดเท่าไร และอย่าลืมว่า จอภาพคือส่วนที่เราต้องมองอยู่เกือบตลอดเวลาที่เราใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์
การเลือกซื้อ Printer
ในส่วนของ Printer ก็คงต้องเลือกกันตามความจำเป็นใช้งาน ซึ่งอาจจะแบ่ง Printer ออกได้เป็น แบบใหญ่ ๆ ดังนี้
  • แบบใช้ผ้าหมึก จะเป็น Printer แบบเก่า ๆ ภาพที่ได้จะไม่ค่อยสวย จะเหมาะกับการใช้งานพิมพ์เอกสารบนกระดาษต่อเนื่องต่าง ๆ โดยที่ราคาต้นทุนการพิมพ์ต่อแผ่นจะถูกมาก
  • แบบ Laser จะเน้นที่การพิมพ์ ขาว-ดำ ครับโดยจะได้งานที่สวยงามขึ้นมา แต่ต้นทุนการพิมพ์ต่อแผ่นก็จะสูงขึ้นมาอีกหน่อย เหมาะสำหรับงานพิมพ์เอาสารทั่ว ๆ ไป
  • แบบ Ink Jet ส่วนใหญ่จะสามารถพิมพ์ภาพสีได้ด้วย ปัจจุบันมีการพัฒนากันถึงขั้นพิมพ์ภาพออกมาได้ใกล้เคียงกับภาพถ่ายจริงแล้ว แต่ข้อเสียก็คือ ต้นทุนการพิมพ์ต่อแผ่นจะค่อนข้างแพงมาก รวมถึงกระดาษที่ใช้สำหรับพิมพ์ อาจจะต้องใช้กระดาษแบบพิเศษเพื่อให้ได้ภาพที่สวยงามขึ้นด้วย
โดยส่วนใหญ่ก็จะดูกันที่ชนิดของการต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นต่อกับ Parallel Port หรือ USB Port ความเร็วของการพิมพ์ในแต่ละหน้า มีความละเอียดของการพิมพ์เช่น 720 dpi (720 จุดต่อนิ้ว) ยิ่งมีความละเอียดสูง ก็จะทำให้พิมพ์ภาพได้คมชัดขึ้นครับ แต่ก็ต้องพิจารณาถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ใช้ในการพิมพ์ด้วย รวมถึงปัญหาต่าง ๆ ในเครื่องพิมพ์แต่ละรุ่นด้วย เช่น Printer ของ Epson ที่เป็นแบบ Ink Jet รุ่นต่าง ๆ จะต้องมีการใช้งานอยู่สม่ำเสมอ หากไม่มีการใช้งานนาน ๆ อาจจะเกิดการอุดตันของหัวพิมพ์ก็ได้ ต้องหาข้อมูลเหล่านี้ดูให้ดีด้วย
การเลือกซื้อ Scanner
ในส่วนของ Scanner ก็ต้องดูเรื่องความละเอียดเป็นหลักครับว่าสามารถสแกนได้ความละเอียดสูงสุดเท่าไร ความเร็วของการสแกน ชนิดของหลอดไฟหรือหัวสแกนที่ใช้งาน ความสามารถทำสแกนฟิมล์ถ่ายภาพได้หรือไม่ รวมถึงการเชื่อมต่อโดยเป็นแบบ Parallel Port หรือ USB Port ด้วย
การเลือกซื้อ อุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ
  • Keyboard เลือกโดยทดลองกดปุ่มต่าง ๆ ดูว่าเหมาะมือของเราหรือไม่ ปุ่มสำหรับ Key พิเศษต่าง ๆ
  • Mouse เลือกโดยทดลองใช้งานให้เหมาะมือ ปุ่มก็ไม่ควรจะแข็งมากจนเกินไปนัก
  • Joy Stick เลือกตามราคา หรือทดลองใช้งานจริง ดูจำนวนปุ่มและ Function ต่าง ๆ ว่ามากน้อยเพียงใด
สรุปการเลือกซื้อหรือ Upgrade คอมพิวเตอร์สำหรับใช้งาน (ในความคิดของผม)
สุดท้ายนี้ ผมก็ลองทำบทสรุปเล่น ๆ สำหรับท่านที่ต้องการจะ Upgrade หรือซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นข้อมูลคร่าว ๆ เบื้องต้นนะครับ ขอย้ำว่าเป็นแค่เพียงแนวความคิดของผมคนเดียวเท่านั้น ควรจะสอบถามจากผู้อื่นเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาในการเลือกด้วย
  • P233MMX RAM 64 HDD 2G. VGA 8M.
    เป็น Spec เครื่องที่เรียกว่ายังพอใช้งานได้สำหรับการลง Windows 98 ใช้งานเอกสารธรรมดา ดูหนังฟังเพลง เล่นอินเตอร์เน็ตได้อย่างสบาย หากใครมีเครื่องที่ความเร็วต่ำกว่านี้ และอยากจะทำการ Upgrade เครื่องก็ลองมอง spec แบบนี้ดูได้นะครับ ดีไม่ดีอาจจะเพียงแค่เพิ่ม RAM อีกหน่อย เปลี่ยนการ์ดจอใหม่สักนิด เท่านี้ก็พอแล้ว
  • K6II-550 RAM 64 HDD 4.3G VGA 8M.
    เป็น Spec ที่ผมแนะนำสำหรับการซื้อเครื่องใหม่แบบราคาประหยัด หรือหากใครจะเลือกเมนบอร์ดแบบ All in One ก็ได้ โดยที่การใช้งานยังไม่เน้นเล่นเกมส์มากนัก แต่โดยรวมแล้วก็ถือว่าใช้งานได้
  • Duron 650 RAM 128 HDD 8G VGA 3D 16M.
    เป็น Spec ที่ผมแนะนำสำหรับการซื้อเครื่องใหม่แบบราคาประหยัด แต่ต้องการคุณภาพที่ดีขึ้นมาอีกสักหน่อย จัดได้ว่าเป็นเครื่องอยู่ในระดับป่นกลาง ไม่ขี้เหล่อะไรมากนัก
  • Celeron 600 MHz ขึ้นไป RAM 128 HDD 10G. ขึ้นไป VGA 3D 16M หรือ 32M.
    เป็น Spec สำหรับเล่นเกมส์แบบประหยัด ผมขอแนะนำให้ใช้ CPU ระดับของ Celeron ก็พอแต่ไปเพิ่มเงินในส่วนของ VGA Card เลือกแบบที่ดี ๆ หน่อยเช่น Voodoo หรือ TNT ทำนองนี้ จะช่วยได้มากครับ
  • Pentium III ขึ้นไป RAM 128M. หรือมากกว่าอันนี้สำหรับท่านที่ต้องการความเร็วและความแรงจริง ๆ โดยที่การ์ดจอก็ควรจะเลือกแบบดี ๆ ไปเลยครับ ราคาไม่ต้องพูดถึง เพราะถือว่าเป็น Spec ที่ค่อนข้างสูงอยู่แล้ว
  • Tunderbird RAM 128M. หรือมากกว่าสำหรับผู้ที่ต้องการความแรงในแบบฉบับที่ราคาประหยัดกว่า Pentium III อาจจะช่วยลดงบประมาณได้บ้าง เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ไม่ควรมองข้ามจริง ๆ

เอกสารอ้างอิง
http://www.com-th.net/

ประเภทของคอมพิวเตอร์

ประเภทของคอมพิวเตอร์แบ่งตามลักษณะของข้อมูล ได้ 3 ประเภท คือ

1. อนาลอกคอมพิวเตอร์ (Analog Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อใช้กับงานเฉพาะด้าน มีการทำงานโดยใช้หลักในการวัด มีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่แยกส่วนทำหน้าที่เป็นตัวกระทำและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ โดยใช้ค่าระดับแรงดันไฟฟ้าเป็นหลักในการคำนวณ และการรับข้อมูลจะรับในลักษณะของปริมาณที่มีค่าต่อเนื่อง ส่วนการรับข้อมูลสามารถรับข้อมูลได้โดยตรงจากแหล่งเกิดข้อมูล แล้วแสดงผลออกมาทางจอภาพ หรืออ่านค่าได้จากเครื่องวัดและแทนค่าเป็นอุณหภูมิ ความเร็ว หรือความดัน มีความละเอียดและสามารถคำนวณได้น้อยกว่าดิจิทัลคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากเหมือนกับดิจิทัลคอมพิวเตอร์ ได้แก่ เครื่องที่ใช้วัดปริมาณทางฟิสิกส์ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะออกมาในรูปของกราฟ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตรวจสภาพอากาศ และที่ใช้ในวงการแพทย์ เช่น เครื่องตรวจวัดสายตา ตรวจวัดคลื่นสมองและการเต้นของหัวใจ เป็นต้น

2. ดิจิทัลคอมพิวเตอร์ (Digital Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานโดยใช้หลักในการคำนวณแบบลูกคิด หรือหลักการนับ และทำงานกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง ลักษณะการคำนวณจะแปลงเลขเลขฐานสิบก่อน แล้วจึงประมวลผลด้วยระบบเลขฐานสอง แล้วให้ผลลัพธ์ออกมาอยู่ในรูปของตัวเลข ซึ่งคอมพิวเตอร์จะแปลงเป็นเลขฐานสิบเพื่อแสดงให้ผู้ใช้เข้าใจง่าย มีความสามารถในการคำนวณและมีความแม่นยำมากกว่าอนาลอกคอมพิวเตอร์ สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากจึงต้องใช้สื่อในการบันทึกข้อมูล เช่น จานแม่เหล็ก และเทปแม่เหล็ก เป็นต้น เนื่องจากดิจิทัลคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่าง ๆ เป็นมาตรฐานเดียวกันและใช้กับงานได้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ทำให้ดิจิทัลคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาให้สามารถทำงานได้เหมาะสมกับสภาพงานทั่วไป เช่น งานพิมพ์เอกสาร งานคำนวณ งานวิจัยเปรียบเทียบค่าทางสถิติ งานบันทึกนัดหมาย งานส่งข้อความในรูปเอกสาร ภาพและเสียง ตลอดจนงานกราฟิกเพื่อนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น



3. ไฮบริดคอมพิวเตอร์ (Hybrid Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้กับงานเฉพาะด้าน มีประสิทธิภาพสูงและสามารถทำงานที่ซับซ้อนได้ เนื่องจากการนำเทคนิคการทำงานของอนาลอกคอมพิวเตอร์และดิจิทัลคอมพิวเตอร์มาใช้งานร่วมกัน เช่น การส่งยานอวกาศขององค์การนาซา จะใช้เทคนิคของอนาลอกคอมพิวเตอร์ในการควบคุมการหมุนของตัวยานอวกาศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความกดดันอากาศ อุณหภูมิ ความเร็ว และใช้เทคนิคของดิจิทัลคอมพิวเตอร์ในการคำนวณระยะทางจากพื้นผิวโลก เป็นต้น

ประเภทของคอมพิวเตอร์แบ่งตามสมรรถนะ ขนาดและราคา ได้ 5 ประเภท คือ

1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด รุ่นแรก สร้างในปี ค.ศ. 1960 ที่องค์การทหารของสหรัฐอเมริกา สร้างสามารถประมวลผลได้กว่า 100 ล้านคำสั่งต่อวินาที จึงทำให้ทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง มีราคาแพงที่สุด เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานคำนวณที่ต้องคำนวณตัวเลขจำนวนมหาศาล ให้เสร็จภายในระยะเวลาอันสั้น โดยต้องอยู่ในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิและปราศจากฝุ่นละออง มักใช้กับองค์กรที่มีขนาดใหญ่เท่านั้น เนื่องจากสามารถรองรับการใช้งานของผู้ใช้จำนวนมากพร้อม ๆ กันได้ เรียกว่า มัลติโปรเซสซิ่ง (Multiprocessing) อันเป็นการใช้หน่วยประมวลผลหลายตัว เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายงานพร้อม ๆ กันได้ จึงนิยมใช้กับงานที่การคำนวณที่ซับซ้อน เช่น การพยากรณ์อากาศ การทดสอบทางอวกาศ การคำนวณทางวิทยาศาสตร์ การบิน อุตสาหกรรมน้ำมัน ตลอดจนการวิจัยในห้องปฏิบัติการ ทั้งของภาครัฐบาลและเอกชน เป็นต้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันดีในปัจจุบันได้แก่ Cray Supercomputer

2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มีความเร็วในการประมวลผลสูงรองลงมาจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ต้องอยู่ในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิและปราศจากฝุ่นละออง และได้รับการพัฒนาให้มีหน่วยประมวลผลหลายหน่วยทำงานพร้อม ๆ กันเช่นเดียวกับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ แต่มีจำนวนหน่วยประมวลผลที่น้อยกว่า จึงทำให้สามารถประมวลผลคำสั่งได้หลายสิบล้านคำสั่งต่อวินาที ระบบคอมพิวเตอร์ของเครื่องเมนเฟรมส่วนมากจะมีระบบคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ ประกอบอยู่ด้วย เพื่อช่วยในการทำงานบางประเภทให้กับเครื่องหลัก มีราคาแพงมาก (แต่น้อยกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์) เหมาะกับงานที่มีข้อมูลที่มีปริมาณมากต้องประมวลผลพร้อมกันโดยผู้ใช้นับพันคน (Multi-user) ใช้กับองค์กรใหญ่ ๆ ทั่วไป เช่น งานด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ การควบคุมระบบเครือข่าย งานพัฒนาระบบ งานด้านธุรกิจ ธนาคาร งานสำมะโนประชากร งานสายการบิน งานประกันชีวิต และมหาวิทยาลัย เป็นต้น



3. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดกลางที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่าเมนเฟรม แต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้หลายร้อยคน (Multi-user) ในการทำงานที่แตกต่างกัน (Multi Programming) เช่นเดียวกับเครื่องเมนเฟรม แต่สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างเครื่องเมนเฟรมและเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ คือ ความเร็วในการทำงาน เนื่องจากมินิคอมพิวเตอร์ทำงานได้ช้ากว่า และควบคุมผู้ใช้งานต่าง ๆ ในจำนวนที่น้อยกว่า รวมทั้งสื่อที่เก็บข้อมูลมีความจุน้อยกว่าเมนเฟรม จึงเหมาะกับองค์กรขนาดกลาง เพราะมีราคาถูกกว่าเครื่องเมนเฟรมมาก ทำงานเฉพาะด้าน เช่น การคำนวณทางด้านวิศวกรรม การจองห้องพักของโรงแรม การทำงานด้านบัญชีขององค์การธุรกิจ เป็นต้น ในสถานศึกษาต่าง ๆ และบางหน่วยงานของรัฐนิยมใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้

4. เวิร์คสเตชันคอมพิวเตอร์ (Workstation Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ที่สนับสนุนการทำงานของคอมพิวเตอร์เครือข่าย ซึ่งใช้ในการจัดสรรและใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลโปรแกรมประยุกต์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องพิมพ์และอุปกรณ์อื่น ๆ โดยการเชื่อมโยงกับเทอร์มินัล (Terminal) หลาย ๆ เครื่อง อีกทั้งได้ถูกออกแบบมาให้มีความสามารถในการคำนวณด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรืองานอื่น ๆ ที่เน้นการแสดงผลด้านกราฟิก เช่น การนำมาช่วยออกแบบภาพกราฟิกที่มีความละเอียดสูง ทำให้เวิร์คสเตชันใช้หน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพสูงและมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจำนวนมากด้วย ผู้ใช้บางกลุ่มจะเรียกเครื่องระดับเวิร์คสเตชันนี้ว่า ซูเปอร์ไมโคร (Supermicro) เพราะถูกออกแบบให้ใช้งานแบบตั้งโต๊ะ แต่ชิปที่ใช้ทำงานนั้นแตกต่างกันมาก เนื่องจากเวิร์คสเตชันส่วนมากใช้ชิปที่ลดจำนวนคำสั่งที่สามารถใช้สั่งงานให้เหลือเฉพาะที่จำเป็น เพื่อให้สามารถทำงานได้ด้วยความเร็วสูง

5. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ราคาถูกสามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer หรือ PC) เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ได้ดังนี้

คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ราคาถูกสามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer หรือ PC) มีการพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1975 ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอันมาก เมื่อ IBM ได้สร้างเครื่อง IBM PC ออกมา ซึ่งความแตกต่างระหว่างเวิร์คสเตชันคอมพิวเตอร์ และไมโครคอมพิวเตอร์ได้ลดน้อยลงเรื่อย ๆ เนื่องจากเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ระดับสูงในปัจจุบันมีประสิทธิภาพ และมีความเร็วในการแสดงผลที่ดีกว่าเวิร์คสเตชันคอมพิวเตอร์มาก สามารถใช้งานโดยใช้คนเดียว (Stand-alone) หรือเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายเพื่อติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ จากการที่เทคโนโลยีที่ก้าวนำสมัยทำให้ PC สามารถเชื่อมโยงเข้ากับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตติดต่อสื่อสารกับคนอื่นได้ทั่วโลก เหมาะกับงานทั่วไป เช่น การประมวลผลคำ (Word Processing) การคำนวณ (Spreadsheet) การบัญชี (Accounting) จัดทำสิ่งพิมพ์ (Desktop Publishing) และงานที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูล เป็นต้น เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ได้ดังนี้

โน๊ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (Notebook Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก มี น้ำหนักเบาประมาณ 2-4 กิโลกรัม และบางกว่าแบบตั้งโต๊ะ สามารถพกพาไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้สะดวก โดยมีหน้าจอและคีย์บอร์ดติดกัน ส่วนเม้าส์ (Mouse) และลำโพงจะอยู่ติดกับตัวเครื่อง โดยสามารถหาอุปกรณ์ดังกล่าวติดตั้งภายนอกเพิ่มเติมก็ได้ มีเครื่องอ่านแผ่นดิสก์ (Floppy Disk Drive) และเครื่องอ่านแผ่นซีดีรอม (CD-ROM drive) และพัฒนาให้มีขนาดเล็กกว่าเดิมสามารถวางบนตักได้

ที่มา : http://www.comsimple.com

ฮาร์ดแวร์ภายในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

เคส ( Case )
ITSONAS_THUNDER_CASE-01เคสเป็นโครงที่ใช้สำหรับใส่อุปกรณ์ภายในต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน อุปกรณ์ที่มักจะใส่ไว้ในเคสก็เป็นพวก เมนบอร์ด(Mainboard) แรม(RAM) การ์ดจอ(VGA Card) ฮาร์ดดิสก์(Hard Disk Drive) พาวเวอซัพพลาย(Power Supply) เป็นต้น มีหลายแบบ หลายสีให้เลือกใช้ตามความพึงพอใจของผู้ใช้Case02  เราสามารถแยกประเภทของ case ได้ดังนี้ 1.แบบ Desktop Computer สำหรับคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะแบบแนวนอน มี 2 แบบคือ Mini และ Slim 2.แบบ Tower Computer เป็นเคสที่ปัจจุบันได้รับความนิยมมากที่สุด ใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ มีลักษณะเป็นเคสแนวตั้ง มีรูปร่างและสีสันสวยงาม 3.แบบ Portable Computer เป็นเคสสำหรับคอมพิวเตอร์แบบพกพา สามารถหิ้วไปไหนมาไหนได้อย่างง่ายดาย แบ่งเป็น 4 ประเภทคือ Labtop , Notebook ,Sub – Notebook , Palmtop หรือ Pocket PCCase01การเลือกใช้เคสนั้น จะเลือกตามลักษณะการใช้งานเป็นหลัก ส่วนใหญ่จะนิยมใช้แบบ Tower สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะตามบ้าน เนื่องจาก หากใช้แบบ Desktop ที่วางแนวนอนแล้ว หากต้องการจะเปลี่ยนอุปกรณ์อะไรจะต้องยกจอออกมาก่อน เพราะเคสชนิดนี้มักจะวางจอไว้ข้างบนเคสอีกชั้นเพื่อประหยัดเนื้อที่วาง เคสที่ใหญ่ก็จะสามารถใส่อุปกรณ์จำพวกฮาร์ดดิสก์เพิ่มได้มากขึ้น ด้านหน้าเคสจะมีปุ่มให้ใช้งานเพียงไม่กี่ปุ่ม โดยทั่วไปจะมีเพียงแค่ ปุ่มเปิด/ปิดเครื่อง และปุ่มรีเซ็ตเท่านั้น ปุ่มเปิด/ปิดเครื่องนั้น จะมีขนาดใหญ่ที่สุดเพื่อให้เห็นได้ง่าย นอกจากนั้น จะมีหลอดไฟแสดงสถานะการทำงานติดอยู่ด้วย ซึ่งปุ่มเปิด/ปิด ปุ่มรีเซ็ต และหลอดไฟแสดงสถานะนั้น จะต่ออยู่กับเมนบอร์ดอีกทีหนึ่ง
desktop-ho
Case แบบ Desktop แบบแนวนอน
         ในเคสรุ่นใหม่ๆจะมีการต่อพอร์ตต่างๆออกมาทางด้านหน้าด้วยเพื่อสะดวกในการใช้งานแทนที่จะนำไปต่อข้างหลัง พอร์ตที่นิยมเอามาไว้ข้างหน้ามักจะเป็น พอร์ตUSB และพอร์ตสำหรับ ลำโพงและไมค์ นอกจากนั้น ทางด้านหน้าเคสจะมีช่องสำหรับไดร์ฟ CD/DVD หรือ Floppy Disk เอาไว้ด้วย

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
เมื่อพิจารณาศัพท์คำว่า Computer ถ้าแปลกันตรงตัวตามคำภาษาอังกฤษ จะหมายถึง เครื่องคำนวณ ดังนั้นถ้ากล่าวอย่างกว้าง ๆ
เครื่องคำนวณที่มีส่วนประกอบเป็นเครื่องกลไกหรือเครื่องไฟฟ้า ต่างก็จัดเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งสิ้น ลูกคิดที่เคยใช้กันในร้านค้า ไม้บรรทัด คำนวณ (slide rule) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือประจำตัววิศวกรในยุคยี่สิบปีก่อน หรือเครื่องคิดเลข ล้วนเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งหมด


ในปัจจุบันความหมายของคอมพิวเตอร์จะระบุเฉพาะเจาะจง หมายถึง เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์"


คุณลักษณะสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ มี 4 ประการ คือ
1. ทำงานโดยอัตโนมัติ ถ้าสังเกตการทำงานของคอมพิวเตอร์ จะพบว่า อุปกรณ์ทุกอย่างของคอมพิวเตอร์ทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ โดยที่คนไม่ได้เข้าไปควบคุม ไม่ว่าจะเป็นการอ่านข้อมูล การคำนวณ หรือการพิมพ์ผลลัพธ์

2. ทำงานได้อเนกประสงค์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้อเนกประสงค์ เพราะทำงานได้หลายชนิดขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ใช้ เช่น โปรแกรมเงินเดือน โปรแกรมคิดคะแนนสอบของนักเรียน เป็นต้น
3. เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบกันเข้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ล้วนแล้วแต่เป็นอุปกรณ์ทางด้าน
อิเล็คทรอนิคส์ทั้งสิ้น เช่น ทรานซิสเตอร์ วงจรไอซี ดังนั้นจึงทำงานด้วยความเร็วสูงมาก

4. เป็นระบบดิจิตอล คำว่า ดิจิตอล (Digital) มาจากคำว่า Digit หมายถึง ตัวเลข เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ ทำงานโดยใช้ระบบตัวเลข ข้อมูลทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นตัวเลข ตัวหนังสือ หรือเครื่องหมายในทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เมื่อส่งเข้าเครื่องรับข้อมูลของคอมพิวเตอร์แล้ว
จะถูกเปลี่ยนเป็นตัวเลขหมด



การทำงานของคอมพิวเตอร์ 
เครื่องคอมพิวเตอร์มีขั้นตอนการทำงาน 3 ขั้นตอน คือ
1. รับโปรแกรมและข้อมูล โปรแกรมในที่นี้ หมายถึง ชุดของคำสั่งที่จะให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ส่วนข้อมูล อาจเป็นตัวเลขหรือตัวหนังสือก็ได้ ที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล

2. การประมวลผล หมายถึง การจัดระเบียบแบบแผนของข้อมูล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งทำได้โดยการคำนวณ
เปรียบเทียบ วิเคราะห์โดยใช้สูตรทางวิทยาศาสตร์ หรือ คณิตศาสตร์ โดยอาศัยคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้น

3. แสดงผลลัพธ์ คือ การนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลเสร็จเรียบร้อย แสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้ใช้เข้าใจ และนำไปใช้ประโยชน์ได้
ขั้นตอนทั้ง 3 แสดงได้ด้วยแผนภาพดังนี้


ที่มา : http://www.bs.ac.th/2548/e_bs/G7/raim/in_1p1.html

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

  • ฮาร์ดแวร์ (Hardware)คือลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย
    • หน่วยรับข้อมูล ( input unit )
    • หน่วยประมวลผลกลาง ( central processor unit ) หรือ CPU
    • หน่วยความจำหลัก
    • หน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit )
    • หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit ) 
    หน่วยรับข้อมูล จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ จากนั้น หน่วยประมวลผลกลาง จะนำไปประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ที่ได้ออกมากให้ผู้ใช้รับทราบทาง หน่วยแสดงผลลัพธ์
    หน่วยความจำหลัก จะทำหน้าที่เสมือนเก็บข้อมูลชั่วคราวที่มีขนาดไม่สูงมากนัก การที่ฮาร์ดแวร์จะทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ส่วนการทำงานได้มากน้อยเพียงใด จะขึ้นอยู่กับหน่วยความจำหลักของเครื่องนั้น ๆ ข้อเสียของหน่วยความจำหลักคือ หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในหน่วยความจำหลักจะหายไป ในขณะที่ข้อมูลอยู่ที่ หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จะไม่สูญหายตราบเท่าที่ผู้ใช้ไม่ทำการลบข้อมูลนั้น รวมทั้งหน่วยเก็ยข้อมูลสำรองยังมีความจุที่สูงมาก จึงเหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง ข้อเสียของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองคือการเรียกใช้ข้อมูลจะช้ากว่าหน่วยความจำหลักมาก
ฮาร์ดแวร์ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์

  • ซอฟต์แวร์ (Software)คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆ เนื่องจากต้องมี ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์(Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมา
    ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ
    • ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )
    • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )
ซอฟต์แวร์ระบบ โดยส่วนมากแล้วจะติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องจากซอฟต์แวร์ระบบเป็นส่วนควบคุมทำงานต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถเริ่มต้นการทำงานอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการได้ต่อไป ส่วน ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จะเป็นซอฟต์แวร์ที่เน้นในการช่วยการทำงานต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน
ซอฟต์แวร์ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์

  • บุคลากร (Peopleware)เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า ผู้ใช้ หรือ ยูเซอร์ (user) แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องใช้ผู้ควบคุม อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็ยังคงต้องถูกออกแบบหรือดูแลรักษาโดยมนุษย์เสมอ
    ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (computer user) แบ่งได้เป็นหลายระดับ เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางส่วนก็ทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่บางส่วนก็พยายามศึกษาโปรแกรมประยุกต์ในขั้นที่สูงขึ้น ทำให้มีความชำนาญในการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ นิยมเรียกกลุ่มนี้ว่า เพาเวอร์ยูสเซอร์ (power user)
    ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ (computer professional) หมายถึงผู้ที่ได้ศึกษาวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งในระดับกลางและระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้จะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์และพัฒนาใช้งาน และประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานในขั้นสูงขึ้นไปได้อีก นักเขียนโปรแกรม (programmer) ก็ถือว่าเป็นผู้เชียวชาญทางคอมพิวเตอร์เช่นกัน เพราะสามารถสร้างโปรแกรมใหม่ ๆ ได้ และเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ต่อไป
    บุคลากรก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะมีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนถึงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะงานได้ดังนี้
    • การดำเนินงานและเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การบันทึกข้อมูลลงสื่อ หรือส่งข้อมูลเข้าประมวล หรือควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (Data Entry Operator) เป็นต้น
    • การพัฒนาและบำรุงรักษาโปรแกรม เช่น เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Programmer) เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรม (System Programmer) เป็นต้น
    • การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงาน (System Analyst and Administrator) วิศวกรระบบ (System Engineer) เจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล (Database Adminstrator)เป็นต้น
    • การพัฒนาและบำรุงรักษาระบบทางฮาร์ดแวร์ เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) เป็นต้น
    • การบริหารในหน่วยประมวลผลข้อมูล เช่น ผู้บริหารศูนย์ประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (EDP Manager) เป็นต้น
  • ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information)ในการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ้งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพโดยแตกต่างๆระหว่างข้อมูล และ สารสนเทศ คือ
    ข้อมูล คือ ได้จากการสำรวจจริง แต่ สารสนเทศ คือ ได้จากข้อมูลไม่ผ่านกระบวนการหนึ่งก่อน
สารสนเทศเป็นสิ่งที่ผู้บริหาารนำไปใช้ช่วยในการตัดสินใจ โดยที่สารสนเทศที่มีประโยชน์นั้นจะมีคุณสมบัติ ดังตาราง
มีความสัมพันธ์กัน (relevant)สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
มีความทันสมัย (timely)ต้องมีความทันสมัยและพร้อมที่จะใช้งานได้ทันทีเมื่อต้องการ
มีความถูกต้องแม่นยำ (accurate)เมื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์และผลลัพธ์ที่ได้จะต้องถูกต้องในทุกส่วน
มีความกระชับรัดกุม (concise)ข้อมูลจะต้องถูกย่นให้มีความยาวที่พอเหมาะ
มีความสมบูรณ์ในตัวเอง (complete)ต้องรวบรวมข้อมูลที่สำคัญไว้อย่างครบถ้วน
คุณสมบัติของสารสนเทศที่มีประโยชน์


การเปลี่ยนรูปจากข้อมูลสู่สารสนเทศ
กระบวนการทำงานหรือโพรซีเยอร์ หมายถึง ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องรู้การทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น การใช้เครื่อง ฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ ถ้าต้องการถอนเงินจะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้
  1. จอภาพแสดงข้อความเตรียมพร้อมที่จะทำงาน
  2. สอดบัตร และพิมพ์รหัสผู้ใช้
  3. เลือกรายการ
  4. ใส่จำนวนเงินที่ต้องการ
  5. รับเงิน
  6. รับใบบันทึกรายการ และบัตร
การใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติงานในส่วนต่าง ๆ นั้นมักจะมีขั้นตอนที่สลับซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานด้วย จึงต้องมีคู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เช่น คู่มือสำหรับผู้ควบคุมเครื่อง (Operation Manual) คู่มือสำหรับผู้ใช้ (User Manual) เป็นต้น
ที่มา : http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/sub%20intro2.htm

ความหมายของคอมพิวเตอร์และฮาร์ดแวร์

คอมพิวเตอร์คืออะไร

     คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อสังคมของมนุษย์เราในปัจจุบัน แทบทุกวงการล้วนนำคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องกับการใช้งาน จนกล่าวได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตและการทำงานในชีวิตประจำวัน ฉะนั้นการเรียนรู้เพื่อทำความรู้จักกับคอมพิวเตอร์จึงถือเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง

ความหมายของคอมพิวเตอร์

       คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์" 
 คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป  นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก อาทิเช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้ 


ฮาร์ดแวร์คืออะไร

             ฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน
  

           


ฮาร์ดแวร์หมายถึง

ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำหน้าที่แตกต่างกันไปตามคุณลักษณะของ องค์ประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ ดังนี้

1) หน่วยรับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยอาจส่งผ่านอุปกรณ์ รับเข้าข้อมูลโดยตรง เช่น เมาส์ , แผงแป้นอักขระ, ปากกาแสง, ก้านควบคุม ฯลฯ หรือส่งผ่านอุปกรณ์ รับเข้าข้อมูลทางอ้อม เช่น เครื่องขับ, แผ่นบันทึก , เครื่องขับเทปแม่เหล็ก เป็นต้น

2) หน่วยประมวลผลกลาง หรือ ไมโครโพรเซสเซอร์ ของไมโครคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่นำคำสั่งและข้อมูล เก็บไว้ในหน่วยความจำมาแปลความหมาย และ กระทำตามคำสั่งพื้นฐานของไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งแทนได้ด้วยรหัสเลขฐานสอง ซึ่งประกอบด้วย หน่วยควบคุม หน่วยคำนวณและหน่วยตรรกะ

3) หน่วยส่งออก หรือหน่วยแสดงผล ซึ่งประกอบด้วย จอภาพ (Monitor) ลำโพง (Speaker) และเครื่องพิมพ์ (Printer)